สัญญายืมเงินแบบถูกกฎหมาย ต้องมีรายละเอียดยังไงบ้าง
แบบฟอร์มสัญญายืมเงินตามกฎหมายใหม่ 2024 หรือสัญญายืมเงินแบบถูกกฎหมายปี 2567 ควรมีรายละเอียดหรือสาระสำคัญ คือ 1. ชื่อสัญญา 2. สถานที่ทำสัญญาเงินกู้ 3. วันที่ทำสัญญา 4. ชื่อและที่อยู่ของคู่สัญญา 5. วัตถุประสงค์ในสัญญา 6. ดอกเบี้ย 7. กำหนดการชำระหนี้ 8. ผลของการผิดนัดชำระหนี้ 9. ข้อความส่วนท้ายของสัญญาการกู้ยืมเงิน 10. ลายมือชื่อของคู่สัญญา 11. พยานในการทำสัญญาเงินกู้ จะเห็นได้ว่าสัญญายืมเงินแบบถูกกฎหมายมีรายละเอียดค่อนข้างหลายส่วน ซึ่งเวลาที่เราจะกู้เงินใครหรือให้เงินกู้แก่ใคร ก็ควรเช็กว่าสัญญายืมเงินแบบถูกกฎหมายมีรายละเอียดหรือเนื้อหาครบถ้วนตามที่ว่ามานี้หรือไม่ หากพบว่าใบสัญญาเงินยืมไม่มีข้อมูลครบถ้วนตามนี้ ก็อย่าเพิ่งรีบเซ็นโดยเด็ดขาด นอกจากนี้ สัญญายืมเงินแบบถูกกฎหมายบางฉบับอาจมีสาระสำคัญเพิ่มเติมนอกเหนือจากนี้ เราสามารถดูตัวอย่างของสัญญายืมเงินแบบถูกกฎหมายปี 2024 เพิ่มเติมได้ในช่องทางออนไลน์
รู้หรือไม่ เราเองก็เขียนสัญญายืมเงินแบบถูกกฎหมายได้
เวลาที่เราจะให้ใครยืมเงินจำนวนเยอะๆ อย่าได้ลืมเขียนสัญญายืมเงินแบบถูกกฎหมาย หรือร่างหนังสือสัญญากู้เงินตามกฎหมายใหม่ก่อนเสมอ เพราะสัญญายืมเงินแบบถูกกฎหมายจะเป็นหลักฐานสำคัญที่ช่วยให้เราฟ้องร้องคู่สัญญาที่กู้ยืมเงินแล้วผิดนัดชำระได้ อย่างไรก็ตาม ในการเขียนสัญญายืมเงินแบบถูกกฎหมาย ไม่ใช่ว่าอยู่ดี ๆ อยากเขียนอะไรก็เขียนเลย เราจะต้องไปดูตัวอย่างการเขียนสัญญายืมเงินหรือหนังสือสัญญายืมเงินที่ถูกต้องกันก่อน เพื่อดูว่าเราจะต้องกำหนดสาระสำคัญอะไรบ้างลงในสัญญายืมเงินแบบถูกกฎหมาย อย่างไรก็ตาม หากเราไม่ได้เป็นคนปล่อยกู้ แต่เป็นคนกู้ยืมเงินแทน เช่น ยืมเงินออนไลน์ถูกกฎหมาย หรือยืมเงินถูกกฎหมายนอกระบบผ่านแอพ เราก็ควรดูใบสัญญาเงินยืมอยู่ดี เพราะหากพบว่าผู้ปล่อยกู้ไม่ได้ทำสัญญาเงินกู้ถูกต้องตามกฎหมาย เราจะได้แย้งแล้วให้ผู้ปล่อยกู้ปรับเปลี่ยนมาทำสัญญาเงินกู้ให้ถูกต้อง
หลักกฎหมายที่ควรรู้ เกี่ยวกับสัญญายืมเงินแบบถูกกฎหมาย
หนังสือสัญญากู้เงินตามกฎหมายใหม่เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่เราควรทำความเข้าใจ เพราะหากวันใดวันหนึ่งเราจะต้องกู้ยืมเงิน ก็จะได้รู้ว่าสัญญาเงินกู้ที่เรากรอกนั้น เป็นสัญญายืมเงินแบบถูกกฎหมายหรือไม่ นอกจากนี้ ก็ยังมีหลักกฎหมายเกี่ยวกับสัญญายืมเงินแบบถูกกฎหมายที่เราต้องรู้เอาไว้อีกด้วย เช่น สัญญายืมเงินแบบถูกกฎหมายเป็นสัญญาที่ไม่มีแบบตายตัว หากมีการกู้ยืมเงินมากกว่า 2000 บาท แต่ไม่มีการทำสัญญาเงินกู้ จะไม่สามารถฟ้องร้องได้ นอกจากนี้ ในแบบฟอร์มสัญญายืมเงินตามกฎหมายใหม่ 2024 ห้ามคิดดอกเบี้ยสูงกว่า 15% ต่อปี หากคิดดอกเบี้ยเกินกว่านี้ สัญญาจะเป็นโมฆะ รวมถึงห้ามคิดดอกเบี้ยทบต้นโดยเด็ดขาด